วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Heat wave


คำที่ขอแนะนำวันนี้คือคำว่า "Heat wave" ซึ่งเป็นคำนาม

แปลว่า : a period of unusually hot weather

หรือ ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งอากาศร้อนอย่างผิดปกติ

อย่างเช่น

The death toll from a weeks-long heat wave in India to at least 2,000
 among those worst hit as temperatures approaches 50C.
(จำนวนผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศร้อนจัดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในประเทศอินเดีย เพิ่มขึ้นกว่า 2,000 ราย ท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงถึง 50 องศาเซลเซียส )
สภาวะอากาศบนโลกของเรานั้นช่างโหดร้ายยิ่งนัก บางพื้นที่ก็หนา่วเกินไป
 ขณะที่บางแห่งก็ร้อนเกินไป เห็นอย่างนี้แล้วครูนิวถือว่าพวกเราโชคดีมากที่ได้อยู่ในประเทศไทย
 ซึ่งได้รับผลจากภัยธรรมชาติน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อีกหลาย ๆ ประเทศ
ขอแสดงความเสียใจแก่ผู้เคราะห์ร้ายทุกท่านครับ


ความแตกต่างระหว่าง Housework and homework, Outgoing and going out

ความแตกต่างระหว่าง
Housework and homework, Outgoing and going out

https://www.youtube.com/watch?v=gFI_6dHWwdw

แมกนิจูด

ดร.สมบุญ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ริกเตอร์ หรือมาตราท้องถิ่น (Local Magnitude/ML) คือมาตราวัดขนาด ของแผ่นดินไหวที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งนิยมและแพร่หลายกันในประเทศไทย มีข้อดี คือคำนวนได้เร็วรวดเร็วกว่ามาตราอื่น แต่มีข้อจำกัดคือใช้ได้กับความไกลจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวไม่เกิน 600 กิโลเมตร และมากที่สุดไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร มากกว่านั้นค่าจะเริ่มเพี้ยน ซึ่งมีขนาดคลื่นแผ่นดินไหวอยู่ที่ 0.0-4.3ไม่เกิน7.0 เหมาะกับประเทศเล็กๆ เช่น ไทย เป็นต้น เพราะเหตุนี้ กรมอุตุของประเทศไทยจึงวัดได้แค่มาตราริกเตอร์เท่านั้น

ส่วนมาตราที่ดีที่สุดที่ต่างประเทศนิยมใช้กัน คือ มาตราโมเมนต์ (Moment Magnitude/Mw) ใช้กับคลื่นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ไม่จำกัดพื้นที่และแม่นยำไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งมีขนาดคลื่นแผ่นดินไหว 5.0-ไม่จำกัด แต่มีข้อเสียคือ คำนวนได้ช้าสุด เพราะต้องคิด งานเชิงกล(mechanical work) นั่นคือที่มาของตัวย่อ w (คำว่าโมเมนต์ ตอนนี้มีนักวิชาการด้านอื่นใช้สับสนกับคำว่าแมกนิจูดไปแล้ว น่าจะเป็นเพราะสับสน ตัว M)

สรุปได้ว่า "แมกนิจูด" ที่เราเริ่มเห็นกันบ่อยขึ้น หมายถึง ขนาด ซึ่งชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับแผ่นดินไหวส่วน "มาตราริกเตอร์" เป็นมาตราวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่แพร่หลายในไทย เหมาะกับประเทศขนาดเล็กๆ ส่วนในประเทศใหญ่ๆ จะใช้ "มาตราโมเม้น" เพราะแม่นยำกว่า
"ถ้าเปรียบเรื่องนี้เหมือนคณิตศาสตร์ มาตราริกเตอร์ก็คือสับเซตหนึ่งของ เซตแมกนิจูด นั่นเอง " ดร.สมบุญ กล่าว...

ต่างประเทศเวลาเขียนข่าวว่า 7.8-Magnitude Quake ซึ่งแปลว่า แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยต่อท้าย แต่คนไทยนำมาแปลเป็นริกเตอร์ ถือว่าผิด หากไม่แน่ใจว่าใช้มาตราไหน ก็ไม่ต้องใส่มาตรา เพียงบอกว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดเท่าไร หรือ แมกนิจูดเท่าไร ก็ถือว่าถูกต้องเหมือนกัน เพราะค่านี้อาจวัดด้วยมาตราอื่น

ตัวอย่างการใช้ที่ถูกต้อง

แผ่นดินไหว 2.4 ที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหวขนาด 2.4 ที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.4 ที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหว 2.4 แมกนิจูดที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหว 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวขนาด 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหว 7.8 ที่เนปาล
แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ที่เนปาล
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.8 ที่เนปาล
แผ่นดินไหว 7.8 แมกนิจูดที่เนปาล
แผ่นดินไหว 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)


วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

MVP


พบกันอีกเช่นเคยนะครับทุกคน

วันนี้ครูนิวขอเสนอคำว่า MVP

คำนี้เป็นคำศัพท์ในวงการกีฬา ย่อมาจากคำว่า Most Valuable Player ซึ
งให้ความหมายในภาษาไทยว่า ผู้เล่นทรงคุณค่า หรือผู้เล่นยอดเยี่ยมนั่นเอง



ในแต่ละปี (ศัพท์วงการกีฬาอาจเรียกว่า ฤดูกาล หรือ Season) 
มีการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ มากมาย เพื่อค้นหาสุดยอดทีม
 ขณะเดียวกันการค้นหาสุดยอดผู้เล่นก็ดำเนินไปพร้อม ๆ กัน 
โดยสุดยอดผู้เล่นหรือ MVP นั้นมีที่มาแตกต่างกัน
 บ้างก็มีคณะกรรมการตัดสิน บ้างก็มาจากการโหวตจากผู้เล่นด้วยกัน


คำว่า MVP นั้นได้รับความนิยมในกลุ่มประเทศทางฝั่งอเมริกามากกว่า
โดยเฉพาะในการแข่งขัน บาสเก็ตบอล NBA 
การแข่งขันอเมริกันฟุตบอล Super Bowl 
หรือการแข่งขันเบสบอล Major League
ส่วนทางยุโรปนั้นอาจมีชื่อเรียกต่างออกไป 
เช่น Best Player หรือ Player of the year



ตัวอย่างประโยค

Stephen Curry Reportedly Wins MVP Award for 2014-15 NBA Season.
(ได้รับรายงานว่า สตีเฟ่น เคอรี่ คว้ารางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า
ในศึกบาสเก็ตบอล NBA ฤดูกาล 2014-2015)



แล้วพบกันใหม่เร็ว ๆ นี้ครับ




วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Racism


สวัสดีครับทุกคน วันนี้ครูนิวขอเสนอคำศัพท์ที่หน้าสนใจและน่าขบคิดมากที่สุดคำหนึ่ง
 นั่นคือคำว่า Racism เป็นคำนาม ออกเสียงว่า " เร้ - เซ - ซึม "
 แปลว่า การเหยียดชนชาติ หรือการเหยียดสีผิว


ในวิดีโอลิงค์ที่ครูนิวแปะไว้นั้น แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างที่ชัดเจนว่า 
คนผิวสีในอเมริกาได้รับการปฎิบัติที่แตกต่างจากคนผิวขาว
 การที่คนดำเสียประโยชน์ หรือถูกเอาเปรียบเช่นนี้เราเรียกว่า Racism ครับ


ในสมัยก่อน การเหยียดชนชาตินั้น ในบางประเทศถือเป็นเรื่องปกติ
 ที่ผู้คนในประเทศนั้น ๆ ยอมรับได้ (อย่างเช่นสหรัฐอเมริกา หรือแอฟริกาใต้) 
แต่ปัจจุบันหากประเทศไหน หรือสังคมไหนมีพฤติกรรมเหยียดชนชาติแล้วล่ะก็ 
คงจะมีเสียงเรียกร้องออกมาดังมากทีเดียว


แม้ปัจจุบันการเหยียดชนชาตินั้นจะลดน้อยลงมากแล้ว
 แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันยังคงแฝงตัวอยู่ในเกือบทุกสังคม 
ไม่ว่าประเทศนั้นจะพัฒนาไปไกลแล้วแค่ไหนก็ตาม แม้แต่สังคมไทยเองก็พบว่า
 หลาย ๆ โอกาสคนไทยเรานั้นตัดสินคน ที่รูปร่างหน้าตา
 การแต่งกาย และบุคลิกภายนอกอยู่เช่นเดียวกัน


การเหยียดชนชาตินั้นสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกัน และความไม่ให้เกียรติกัน 
ในฐานะมนุษย์ด้วยกัน ดังนั้นการรณรงค์ให้ขจัดปัญหาการเหยียดชนชาติ หรือเหยียดสีผิวนั้น
 จึงเกิดขึ้นให้เห็นอยู่เสมอ จนกว่าความเท่าเทียมทางชนชาติจะมีอยู่จริง


24 English Accents


วันนี้ครูนิวขอเสนอ วิดีโอที่ทำขึ้นโดยวัยรุ่นชาวอังกฤษคนหนึ่ง ซึ่งมีพรสวรรค์มาก ๆ
 เค้าได้เลียนสำเนียงการพูดของผู้คนทั่วโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ 24 สำเนียง 
ทั้งที่ใช้เป็นภาษาแม่ (ภาษาที่พูดมาตั้งแต่เกิด) และภาษาที่สอง (หรือที่สาม ที่สี่ ที่ห้า)

เจ้าตัวได้กล่าวขอโทษในคำอธิบายใต้วิดีโอไว้ว่า 
"ผมไม่เจตนาจะล้อเลียนสำเนียงของชนชาติใดเลย เพียงแค่ทำวิดีโอขึ้นมาสนุก ๆ
 ตามที่ได้สัญญากับเพื่อนคนหนึ่งไว้"

สำหรับ "สำเนียง" (Accent) นั้น สามารถพบเห็นและได้ยินได้ฟังทั่วไป
 สำเนียงที่ต่างกันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะชาวต่างประเทศเท่านั้น แม้แต่ในประเทศอังกฤษ
 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษาอังกฤษแท้ ๆ เอง สำเนียงในเมืองหลวง (กรุงลอนดอน) 
และสำเนียงเมืองอื่น ๆ อย่าง แมนเชสเตอร์ หรือลิเวอร์พูล 
ที่ห่างออกไปไม่กี่กิโลเมตร ก็มีสำเนียงที่ต่างกันมาก 
นับประสาอะไรกับประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่อย่างเรา


เพื่อให้เข้าใจง่าย ลองเปรียบเทียบกับสำเนียงภาษาไทยในบ้านเราก็จะเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น
 จังหวัดอยุธยาที่ห่างจากกรุงเทพเพียงแค่ 70 กว่ากิโลเมตร 
หรือชลบุรีที่ห่างจากกรุงเทพเพียง 80 กว่ากิโลเมตร
 ก็มีสำเนียงการพูดที่ต่างจากคนกรุงเทพมากทีเดียว

จึงไม่ต่องแปลกใจ หากผู้เรียนภาษาอังกฤษอย่างเรา ๆ 
ได้ยินได้ฟังสำเนียงที่แตกต่างกัน นั่นเป็นการดีกับเราเสียอีก 
ที่ได้เรียนรู้สำเนียงที่หลากหลาย สอดแทรกไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมทั่วโลก
ครูนิวขออภัยด้วยเช่นกัน เพราะเนื้อหาในวิดีโอนี้มีคำผรุสวาทปะปนอยู่ไม่น้อย
 แต่อีกมุมหนึ่งอาจเป็นการดี ที่ทุกคนจะได้ฟังถ้อยคำที่เจ้าของภาษาเค้าใช้กันในชีวิตจริง

ขอให้สนุกกับวิดีโอนี้ แล้วพบกันใหม่ครับ



Let's pray for Napal


Thousands of Nepalese citizens spent the night outdoors
 following a devastating earthquake
 which killed at least 1,900 people.
Mountaineering officials say the quake triggered avalanches which killed at least 17 people 
on Mount Everest - in the worst ever disaster on the peak.
 (BBC News April 26, 2015)


ประชาชนชาวเนปาลหลายพันคนต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างไร้บ้าน 
หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 1,900 ราย
ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการปีนเขารายงานว่า 
แผ่นดินไหวทำให้เกิดการถล่มของดินบริเวณภูเขาเอเวอร์เรสต์
 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 ราย ซึ่งนับเป็นภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุด บนยอดเขาแห่งนี้
 (จากสำนักข่าว BBC ประจำวันที่ 26 เมษายน 2558)


Let's pray for Napal.

เรามาสวดภาวนาเพื่อชาวเนปาลกันเถอะครับ