วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Heat wave


คำที่ขอแนะนำวันนี้คือคำว่า "Heat wave" ซึ่งเป็นคำนาม

แปลว่า : a period of unusually hot weather

หรือ ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งอากาศร้อนอย่างผิดปกติ

อย่างเช่น

The death toll from a weeks-long heat wave in India to at least 2,000
 among those worst hit as temperatures approaches 50C.
(จำนวนผู้เสียชีวิตจากสภาพอากาศร้อนจัดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาในประเทศอินเดีย เพิ่มขึ้นกว่า 2,000 ราย ท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงถึง 50 องศาเซลเซียส )
สภาวะอากาศบนโลกของเรานั้นช่างโหดร้ายยิ่งนัก บางพื้นที่ก็หนา่วเกินไป
 ขณะที่บางแห่งก็ร้อนเกินไป เห็นอย่างนี้แล้วครูนิวถือว่าพวกเราโชคดีมากที่ได้อยู่ในประเทศไทย
 ซึ่งได้รับผลจากภัยธรรมชาติน้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อีกหลาย ๆ ประเทศ
ขอแสดงความเสียใจแก่ผู้เคราะห์ร้ายทุกท่านครับ


ความแตกต่างระหว่าง Housework and homework, Outgoing and going out

ความแตกต่างระหว่าง
Housework and homework, Outgoing and going out

https://www.youtube.com/watch?v=gFI_6dHWwdw

แมกนิจูด

ดร.สมบุญ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า ริกเตอร์ หรือมาตราท้องถิ่น (Local Magnitude/ML) คือมาตราวัดขนาด ของแผ่นดินไหวที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งนิยมและแพร่หลายกันในประเทศไทย มีข้อดี คือคำนวนได้เร็วรวดเร็วกว่ามาตราอื่น แต่มีข้อจำกัดคือใช้ได้กับความไกลจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหวไม่เกิน 600 กิโลเมตร และมากที่สุดไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร มากกว่านั้นค่าจะเริ่มเพี้ยน ซึ่งมีขนาดคลื่นแผ่นดินไหวอยู่ที่ 0.0-4.3ไม่เกิน7.0 เหมาะกับประเทศเล็กๆ เช่น ไทย เป็นต้น เพราะเหตุนี้ กรมอุตุของประเทศไทยจึงวัดได้แค่มาตราริกเตอร์เท่านั้น

ส่วนมาตราที่ดีที่สุดที่ต่างประเทศนิยมใช้กัน คือ มาตราโมเมนต์ (Moment Magnitude/Mw) ใช้กับคลื่นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ไม่จำกัดพื้นที่และแม่นยำไม่ผิดเพี้ยน ซึ่งมีขนาดคลื่นแผ่นดินไหว 5.0-ไม่จำกัด แต่มีข้อเสียคือ คำนวนได้ช้าสุด เพราะต้องคิด งานเชิงกล(mechanical work) นั่นคือที่มาของตัวย่อ w (คำว่าโมเมนต์ ตอนนี้มีนักวิชาการด้านอื่นใช้สับสนกับคำว่าแมกนิจูดไปแล้ว น่าจะเป็นเพราะสับสน ตัว M)

สรุปได้ว่า "แมกนิจูด" ที่เราเริ่มเห็นกันบ่อยขึ้น หมายถึง ขนาด ซึ่งชาลส์ ฟรานซิส ริกเตอร์ เป็นคนแรกที่นำมาใช้กับแผ่นดินไหวส่วน "มาตราริกเตอร์" เป็นมาตราวัดคลื่นแผ่นดินไหวที่แพร่หลายในไทย เหมาะกับประเทศขนาดเล็กๆ ส่วนในประเทศใหญ่ๆ จะใช้ "มาตราโมเม้น" เพราะแม่นยำกว่า
"ถ้าเปรียบเรื่องนี้เหมือนคณิตศาสตร์ มาตราริกเตอร์ก็คือสับเซตหนึ่งของ เซตแมกนิจูด นั่นเอง " ดร.สมบุญ กล่าว...

ต่างประเทศเวลาเขียนข่าวว่า 7.8-Magnitude Quake ซึ่งแปลว่า แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยต่อท้าย แต่คนไทยนำมาแปลเป็นริกเตอร์ ถือว่าผิด หากไม่แน่ใจว่าใช้มาตราไหน ก็ไม่ต้องใส่มาตรา เพียงบอกว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดเท่าไร หรือ แมกนิจูดเท่าไร ก็ถือว่าถูกต้องเหมือนกัน เพราะค่านี้อาจวัดด้วยมาตราอื่น

ตัวอย่างการใช้ที่ถูกต้อง

แผ่นดินไหว 2.4 ที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหวขนาด 2.4 ที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.4 ที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหว 2.4 แมกนิจูดที่เชียงใหม่
แผ่นดินไหว 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวขนาด 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 2.4 ตามมาตราริกเตอร์ที่เชียงใหม่ (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหว 7.8 ที่เนปาล
แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ที่เนปาล
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.8 ที่เนปาล
แผ่นดินไหว 7.8 แมกนิจูดที่เนปาล
แผ่นดินไหว 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)
แผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.8 ตามมาตราโมเมนต์ ที่เนปาล (ห้ามตกคำว่า มาตรา เด็ดขาด)